วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

มาตราตัวสะกดในภาษาไทย



                 มาตราตัวสะกดมีทั้งที่ใช้ตัวสะกดตรงแม่ และมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงแม่ การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่างๆ ทำให้เขียนและอ่านคำได้ถูกต้อง 
              มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในแม่ ก กา ทำให้แม่ ก กา มีตัวสะกด เช่น มี เมื่อประสมกับ  ลายเป็น มีด เป็นต้น 
              มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ ตัว มือ เสีย ดำ ฯลฯ ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด ๘ แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน แบ่งได้ดังนี้ 
                    ๑. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ
                            แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หา ปลิ สอ ง แร ฯลฯ 
                            แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ล แต้ โส มุ งอ สนา ฯลฯ
                            แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สา ลอ โปร เฉ ปุ๋ ฯลฯ
                            แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ กา เปรี้ย เปล ฯลฯ 
                    ๒. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ
                            แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น นา วิญา วาน กาเวลา พระกา ฯลฯ
                            แม่กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกด เช่น ปั เล วิห เม ฯลฯ
                            แม่กด ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น แป ตรว ก๊า บงก กหมาย ปราก อิ ครุวันา เปร โอส บา โกร กระดา ร เลิ ฯลฯ
                            แม่กบ ใช้ บ ป ภ พ ฟ สะกด เช่น กลั บา ลา นรัตน์ กรา ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

สุภาษิตสอนหญิง

สุภาษิตสอนหญิง บทประพันธ์ชิ้นเอกของสุนทรภู่




     เรื่องที่ท่านสอนก็คือ การเลือกคู่ครอง หรือ เลือกสามี  ท่านกล่าวถึงธรรมดาโลกว่า หญิงชายรักกันเป็นเรื่องธรรมดาแต่ท่านสอนมิให้หญิงแสดงออกถึงความรักต่อชายอย่างเปิดเผย ต้องรู้จักรักนวลสงวนตัวเหมือนอย่างจามรีรักขนดังคำกลอนว่า

     อันที่จริงหญิงชายย่อมหมายรัก    มิใช่จักตัดทางที่สร้างสม
แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์                อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี

ดังพฤกษาต้องวายุพัดโบก               เขยื้อนโยกก็แต่กิ่งไม่ทิ้งที่               
 จงยับยั้งช่างใจเสียให้ดี                   เหมือนจามรีรู้จักรักษากาย

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

กลอนแปด



กลอนแปด ผังกลอนแปด ลักษณะกลอนแปด 

        
        กลอนแปดเป็น คำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

คำราชาศัพท์



คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์

แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้

บุคคล 5 ประเภทที่ใช้คำสุภาพ คือ
1. พระมหากษัตริย์ 
2. พระบรมวงศานุวงศ์ 
3. พระภิกษุ 
4. ขุนนางข้าราชการ 
5. สุภาพชน












วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

ภาษาถิ่น




          ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย  ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ   ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน  และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ  ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำและสำเนียง  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะความเป็นอยู่  และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย  บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น   และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย  และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก   เช่นภาษาถิ่นใต้  ก็มีภาษาสงฃลา  ภาษานคร  ภาษาตากใบ  ภาษาสุราษฎร์  เป็นต้น   ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป  ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด  หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้